วันจันทร์ที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2558

อาหารพื้นเมือง

อาหารพื้นเมือง

แกงฮังเล


  แกงฮังเล บางแห่งก็เรียกว่า แกงฮินเล หรือ แกงฮันเล มีอยู่ ๒ ชนิด คือ แกงฮังเลม่าน และ แกงฮังเลเชียงแสน เชื่อกันว่าแกงฮังเลเป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลมาจากพม่าในสมัยอดีต จากการศึกษาของอุบลรัตน์ พันธุมินทร์ จากแหล่งข้อมูลพุกาม พบว่าแกงที่ชาวพม่าเรียกว่า “ ฮินแล หรือ “ ฮังแล ” นั้นเป็นแกงอย่างเดียวกับที่ชาวล้านนาเรียกว่า “ แกงโฮะ ” ส่วนแกงอย่างที่ชาวล้านนาเรียก “ ฮินแล ” หรือ “ ฮังแล ” นั้น
ชาวพม่าเรียก “ แวะตาฮีน ” ซึ่งแปลว่าแกงหมู 



แกงโฮ๊ะ 


แกงโฮ๊ะ  คำว่า โฮ๊ะ แปลว่า รวม แกงโฮ๊ะ ก็คือการนำเอาอาหารหลายๆอย่างมารวมกัน หรือเวลาที่อาหารเหลือจากการรับประทานคนเหนือก็จะนำมาแกงโฮ๊ะหรือคั่วโฮ๊ะนั่นเอง แกงโฮ๊ะจะมีรสชาติเผ็ดร้อน หอมเครื่องแกง รับประทานกับข้าวเหนียวหรือข้าวสวย ก็ได้ 


ข้าวซอย


ข้าวซอย   คือ อาหารพื้นเมืองทางภาคเหนือของประเทศไทย เดิมเรียกว่า ก๋วยเตี๋ยวฮ่อ เป็น อาหารที่คล้ายเส้นบะหมี่ ในน้ำซุปที่ใส่เครื่องแกง รสจัดจ้าน ในตำรับดั้งเดิม ข้าวซอยจะมีส่วนประกอบของเนื้อหมูหรือเนื้อไก่หรือเนื้อวัว มีเครื่องเคียงได้แก่ ผักกาดดอง หอมหัวแดง และมีเครื่องปรุงรส 


ขนมจีนน้ำเงี้ยว  


   ขนมจีนน้ำเงี้ยว   เป็นอาหารยอดนิยมของคนล้านนา มานาน ประกอบด้วยเส้นขนมจีน,เลือดหมูเนื้อหมูมะเขือเทศ เป็นหลัก มีทั้งสูตรเชียงราย (ใส่ดอกงิ้ว) สูตรเชียงใหม่ (ใส่เต้าเจี๊ยว) สูตรลำปาง (ใส่ถั่วเน่า) สูตรแพร่ (เป็นแบบน้ำใส) เป็นต้น


แหล่งข้อมูล:http://orachaporn2539.blogspot.com/2013/08/blog-post_484.html

ศิลปวัฒนธรรม/ประเพณี

ศิลปวัฒนธรรม/ประเพณี


        เชียงของ เป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญมาตั้งแต่อดีต ด้วยพื้นที่เชื่อมต่อกับเพื่อนบ้านทั้งพม่า ลาว จีน เมื่อเปิดสะพานมิตรภาพแห่งที่ 4 ต้องพบกับความเปลี่ยนแปลง คนพื้นที่จึงกำหนดแผนปรับเปลี่ยนเป็นเมือง 2 แบบ แบ่งเขตพัฒนาและรักษาพื้นที่วัฒนธรรมนิทานท้องถิ่นเล่าเรื่องปู่ละหึ่งแบกถ่านจนคานหักตกลงในแม่น้ำโขง บอกเล่าที่มาของชื่อเรียกท่าผาถ่าน ด้วยความโดดเด่นของผาหินสีดำคล้ายถ่าน สัญลักษณ์ท่าเรือประวัติศาสตร์ของเมืองชายแดนเชียงของ การขยายตัวทางเศรษฐกิจ ทำให้เส้นทางผ่านสินค้าและผู้คนส่วนใหญ่ ย้ายไปยังท่าเรือบั๊คในเขตหัวเวียง ที่นี่จึงซบเซามากว่า 20 ปี ท่าผาถ่าน เป็น 1 ในสถานที่สำคัญสะท้อนประวัติศาสตร์วัฒนธรรมเมือง ที่จะรวมอยู่ในแผนอนุรักษ์ที่ชุมชนออกแบบเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลง หากเปิดใช้สะพานข้ามโขงแห่งที่ 4 ที่มีกำหนดแล้วเสร็จกลางปีนี้
สะพานข้ามโขงแห่งที่ 4 เชื่อมจากเมืองเชียงของ-ห้วยทรายในฝั่งลาว ซึ่งจะสร้างเสร็จในเดือนมิถุนายน 2556  และหลังจากเปิดใช้สะพาน เชียงของจะเป็นทางผ่านสินค้า รวมถึงการท่องเที่ยวที่มากขึ้น ทำให้ชาวเชียงของร่างแผนพัฒนาเมือง 2 แบบ พัฒนาทั้งเขตเศรษฐกิจและรักษาวัฒนธรรม
ขณะนี้ งานก่อสร้างสะพานสร้างเสร็จร้อยละ 70 ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจแนวเหนือใต้ และโครงข่ายคมนาคมไทยลาวและจีน  หากนโยบายเปิดประตูการค้า ส่งเสริมการท่องเที่ยวราว 10 ปีมานี้ มีผลให้เมืองเล็กๆ ที่เคยเงียบสงบอย่างเชียงของ เผชิญความเปลี่ยนแปลงหลายด้าน ทำให้เครือข่ายนักอนุรักษ์และชาวชุมชน ร่างแผนกำหนดเมือง 2 แบบ แบ่งเขตเมืองใหม่เป็นพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจ-การค้า ระบบขนส่ง แยกกับพื้นที่เมืองเก่า ที่ส่งเสริมให้เป็นแหล่งเรียนรู้-อนุรักษ์ หวังใช้ตั้งรับกับปัญหาการท่องเที่ยว และการรุกคืบจากสินค้าของชาติมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอย่างจีน ที่อาจทำลายวิถีเมืองเชียงของและอัตลักษณ์วัฒนธรรมเดิม
เมืองชายแดนหลายแห่ง เจริญขึ้นหลังการเปิดด่านเป็นทางผ่านสินค้า หากวิถีเมืองกลับเปลี่ยนตามการเข้ามาของทุนท่องเที่ยว และการพัฒนาย่านเศรษฐกิจที่แตกต่างกับวัฒนธรรมเดิม เช่น แม่สาย เชียงแสน  หากความตื่นตัวของชาวเชียงของในการพัฒนาอนุรักษ์เมืองอย่างมีส่วนร่วม ตลอดจนขับเคลื่อนเสนอราชการให้แผนพัฒนา 1 เมือง 2 แบบได้รับการประกาศใช้ ล้วนมาจากความ
ตั้งใจจริงของคนพื้นที่ ในการรักษาชีวิตวัฒนธรรมเมืองชายแดนริมโขง


พิธีบวงสรวงเจ้าพ่อปลาบึก


ช่วงเวลา พิธีบวงสรวงจะกระทำก่อนการลงมือจับปลาบึกที่อำเภอเชียงของ จะเริ่มจับปลาบึกตั้งแต่ปลายเดือนเมษายนจนถึงปลายเดือนพฤษภาคม ของทุกปีซึ่งเป็นช่วงที่ปลาบึกกำลังผสมพันธุ์ และว่ายทวนน้ำขึ้นไปวางไข่ที่ทางต้นน้ำในประเทศจีน
ความสำคัญ
พิธีบวงสรวงเจ้าพ่อปลาบึกเป็นประเพณีที่ถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ โดยเชื่อว่าปลาบึกเป็นปลาที่มีเทพคอยคุ้มครองอยู่ ถ้าไม่มีการบวงสรวงไหว้วอนขอจากเจ้าพ่อของเขา และไม่ปลุกขวัญแม่ย่านางเรือให้มีอานุภาพแกร่งกล้าผู้นั้นก็ยากที่จะจับปลาบึกได้สำเร็จ ดังนั้นบรรดาชาวประมงหรือพรานล่าปลาบึกบ้านหาดไคร้ ตำบลเวียง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย จึงได้มีพิธีบวงสรวงกันทุกปี จนกลายเป็นประเพณีพื้นบ้านของท้องถิ่น
พิธีกรรม
พิธีบวงสรวงจะกระทำบริเวณชายหาดริมแม่น้ำโขง โดยมีศาลเพียงตาและมีรั้วรอบทั้งสี่ด้าน ที่มุมรั้วทั้ง๔ จะผูกต้นกล้วย ต้นอ้อยไว้ ส่วนบนศาลเพียงตาจะมีเครื่องเซ่นบวงสรวงประกอบด้วย ดอกไม้ ธูปเทียน สุราอาหารและผลไม้ สมัยก่อนเครื่องเซ่นสังเวยบวงสรวงเจ้าพ่อปลาบึกและแม่ย่านางเรือมีเพียง ดอกไม้ ธูปเทียนและไก่เป็นๆ โดยจับขาไก่สองข้างให้แน่นและฟาดลำตัวลงบนหัวเรือให้ตายทั้งเป็น เพื่อให้เลือดกระเซ็นรอบๆเรือและเครื่องมือที่ใช้ดักจับปลาบึก จากนั้นก็ขออาหารที่เหลือมาแบ่งกันกิน เป็นอันเสร็จพิธี
สาระ
การทำพิธีบวงสรวงก่อนการจับปลาบึกเป็นการสร้างกำลังใจ ความเป็นสิริมงคล และโชคลาภแก่ชาวประมง ตลอดจนเป็นการรักษาไว้ซึ่งประเพณีที่เคยปฏิบัติสืบกันมาทุกปี




แข่งเรือพายสงกรานต์เชียงของ



 ในงานสงกรานต์เชียงของเขามีการแข่งเรือพายในแม่น้ำโขง ต้องบอกก่อนว่าเชียงของอยู่ชายแดนลาวที่เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว ประเทศลาว มีเพียงแม่น้ำโขงกั้นไว้ ในวันสงกรานต์แต่ละตำบลจะส่งเรือพายของตนเองเข้ามาพายแข่งกัน เป็นประเพณีของชาวเชียงของ ผมเดินผ่านไปชายแม่น้ำโขงเห็นกระดานเขียนรายชื่อผู้ร่วมบริจาคไว้ จึงเข้าใจว่าทุกฝ่ายในตำบลจะช่วยๆกันเรื่องค่าใช้จ่าย โดยมีพ่อหลวงบ้านเป็นแกนนำ เห็นจากตอนรับรางวัลจะให้พ่อหลวงไปรับรางวัล






บ้านทุ่งนาอยู่ห่างจากตัวอำเภอเชียงของเพียง 9.5 กิโลเมตร ไปทางทิศตะวันตก โดยเป็นหมู่บ้านที่ชาวม้งอาศัยอยู่ ซึ่ง ม้งเป็นหนึ่งในหลายชนเผ่าที่กระจัดกระจายอาศัยอยู่ทั่วภาคเหนือตอนบน มีวิถีชีวิตดั้งเดิมที่น่าสนใจ และยังคงรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีของตนไว้ มีการประกอบอาชีพและพิธีกรรมต่างๆ ที่ผสมกลมกลืนกับธรรมชาติ ห่างจากหมู่บ้านไปอีกประมาณ 3 กิโลเมตร ยังมีน้ำตกห้วยตอง อีกหนึ่งน้ำตกที่สวยงามของอำเภอเชียงของ
ซึ่งนักท่องเที่ยวที่ชอบการเดินป่าหรือการปั่นจักรยานเสือภูเขา สามารถท่องเที่ยวได้ 2 วัน 1 คืน วันแรกเดินทางเข้าไปหมู่บ้านม้ง เดินเที่ยวชมหมู่บ้านม้ง บ่ายๆ เดินทางสู่น้ำตกและค้างแรมที่นั่น เช้าวันที่สองเดินทางออกจากน้ำตกมาหมู่บ้านม้ง และเดินทางตามแนวเขาไปยังบ้าน ห้วยเม็ง ผ่านน้ำตกห้วยเม็ง และทิวทัศน์บนสันเขาที่สามารถมองเห็นเชียงของ, ห้วยทราย(ลาว) และแม่น้ำโขง บ่ายกว่าๆ ถึงบ้านห้วยเม็ง และแวะชิมส้มเขียวหวานอันลือชื่อ ชมวิถีชีวิตของชาวไทยลื่อที่บ้านห้วยเม็ง
ระยะทางรวมทั้งหมดประมาณ 25 กิโลเมตร (เส้นทางธรรมชาติ)เส้นทางการเดินทางไปหมู่บ้านทุ่งนาน้อย เป็นถนนลูกรัง เหมาะสำหรับรถทุกชนิด ช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับการเที่ยว ประมาณเดือนตุลาคม มีนาคม


แหล่งข้อมูลhttp://www.prapayneethai.com




แหล่งท่องเที่ยว

แหล่งท่องเที่ยว


1.สะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 4


สะพานมิตรภาพ 4 (เชียงของ-ห้วยทราย) (ลาวຂົວມິດຕະພາບລາວ - ໄທ ແຫ່ງທີ 4) เป็นสะพานข้ามแม่น้ำโขง เชื่อมต่อระหว่างประเทศไทยที่ บ้านดอนมหาวัน อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงรายกับประเทศลาวที่บ้านดอน เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว ระยะทาง 2.48 กิโลเมตร รูปแบบของสะพานเป็นคอนกรีตรูปกล่อง (Segmental Concrete Box Girder) มีเสา 4 เสา กว้าง 14.70 เมตร เป็นสะพานขนาด 2 เลน แต่ละเลนกว้าง 3.50 เมตร นอกจากสะพานแล้วยังมีโครงการก่อสร้างถนนไปอีกประมาณ 6 กิโลเมตรเข้าในเขตเมืองห้วยทราย ซึ่งเป็นถนนลาดยางขนาดสองเลน รวมทั้งมีการก่อสร้างด่านตรวจคนเข้าเมืองด้วยสถาปัตยกรรมแบบล้านช้าง เป็นการเชื่อมต่อกับเส้นทางR3A[1][2]เส้นทางR3A] ที่เชื่อมต่อระหว่างจีน – ลาว –ไทย
บริษัทรับเหมาก่อสร้างเป็นกลุ่ม CR5-KT Joint Venture ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่างบริษัท China Railway No.5 ของจีนและบริษัทกรุงธน เอนจิเนียริง จำกัดของไทย งบประมาณในการก่อสร้างประมาณ 1,624 ล้านบาท โดยการสมทบทุนระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีน ส่วนรัฐบาลลาวรับผิดชอบค่าชดเชยให้แก่ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ โดยก่อสร้างตัวสะพานแล้วเสร็จในวันที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2555 และได้เปิดให้บริการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2556
ทั้งนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงเป็นประธานร่วมในพิธีเปิดสะพานข้ามแม่น้ำโขงไทย-ลาว แห่งที่ 4(เชียงของ-ห้วยทราย)[3][4][5]พิธีเปิดสะพานมิตรภาพแห่งที่4] ร่วมกับ ฯพณฯ บุนยัง วอละจิต รองประธานประเทศแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมื่อเวลา 10.00น.วันที่ 11ธ.ค.56 ถือฤกษ์ดี 11 12 13
สำหรับสะพานแห่งนี้ หลังจากที่ได้ก่อสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 4 เชียงของห้วยทราย ซึ่งเป็นสะพานที่เชื่อต่อเส้นทางอาร์ 3 เอจากกรุงเทพ - คุณหมิง เพื่อสร้างเศรษฐกิจที่ดีระหว่าง 3 ประเทศที่ถนนสายนี้ผ่าน ซึ่งการเปิดใช้สะพานมิตรภาพ ไทย-ลาว แห่งที่ 4 ในฤกษ์ดีวันที่ 11 เดือน 12 ปี 13 จะเป็นการเชื่อมต่อและเป็นการเปิดใช้เส้นทางอย่างเป็นทางการ เพื่อให้การคมนาคมระหว่างประเทศสะดวกมากยิ่งขึ้น และเพื่อเป็นการรองรับประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ในปี 2015
เส้นทางอาร์3เอ มีต้นทางเริ่มจากเชียงของ ประเทศไทย-บ่อแก้ว-หลวงน้ำทา-บ่อเต็น ของประเทศลาว-บ่อหาน-เชียงรุ่งหรือจิ่งหง ในแคว้นสิบสอ ปันนา นครคุนหมิงมณฆลยูนนาน ของจีน โดยมีระยะทางจากกรุงเทพฯถึงคุนหมิงรวมกว่า 1800 กิโลเมตร นอกจากนี้ ไทยและจีนจะร่วมมือกันก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 เชียงของ-ห้วยทราย โดยมีวงเงินก่อสร้างประมาณ 1,000 ล้านบาท คาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2554 สำหรับการก่อสร้างถนนสายเศรษฐกิจอาร์3เอ เพื่อเชื่อมโยงการคมนาคมในกลุ่มประเทศอนุภาคลุ่มน้ำโขงนับเป็นโครงการบูรณาการเศรษฐกิจในระดับมหภาค ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวและการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรม โดยเฉพาะด้านการท่องเที่ยวนับว่าเป็นโอกาสสูงมากที่ประเทศไทยจะมีช่องทาง โอกาสในการเปิดรับนักท่องเที่ยวจากประเทศจีนตอนใต้ ที่จะเดินทางมาทางรถยนต์และทางเรือเพื่อมาท่องเที่ยวยังจังหวัดต่างๆทางภาคเหนือของประเทศไทย เนื่องจากจำนวนประชากรของจีนนั้น มีจำนวนมากกว่า 1,400 ล้านคน

2.วัดครึ่งใต้ เชียงของ


เป็นวัดที่มีความน่าสนใจตรงที่เป็นวัดบ้านเกิดของ พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว.วชิรเมธี) และยังมีสถาปตยกรรมน่าสนใจหลายอย่าง เช่นหอไตร ที่เป็นลักษณะเสาเดียว หาดูได้ยาก และยังเป็นที่ตั้งของ โรงเรียนเตรียมสามเณร สนองราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ อีกด้วย


3.วัดพระแก้ว


วัดพระแก้ว ตั้งอยู่ หมู่ที่ 13 ตำบลเวียง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย เป็นอีกวัดหนี่งในเชียงของที่ตั้งอยู่กลางเมือง ตั้งอยู่ห่างที่ว่าการอำเภอฯประมาณ 400 เมตร บนถนนสายหลักเชียงของ-เชียงแสน (ติดกับที่ทำการไปรษณีย์) ทางเข้าวัดจะติดถนนสายหลักแต่อีกด้านหนึ่งจะติดแม่น้ำโขง ดังนั้นบริเวณวัดจึงสามารถมองเห็นวิวน้ำโขงสวยงามมาก รวมทั้งมองเห็นฝั่งลาวได้ชัดเจนอีกด้วย ภายในวัดมีพระพุทธรูปเก่าแก่มากมาย โดยเฉพาะพระพุทธรูปที่ทำจากหินน้ำโขงที่งดงามมาก บริเวณด้านติดแม่น้ำโขงมีม้านั่งหินอ่อนให้ท่านนั่งชมทัศนียภาพน้ำโขงและฝั่งลาวตลอดแนววัด


4.วัดศรีดอนชัย



วัดศรีดอนชัย เดิมชื่อ “วัดตุงคำ” ตั้งอยู่บริเวณสถานีตำรวจภูธรอำเภอเชียงของปัจจุบัน ต่อมาประมาณปี พ.ศ. 2400 ได้ย้ายมาสร้างวัดใหม่ทางทิศตะวันตก ติดกับประตูชัย (ที่ตั้งวัดปัจจุบัน) และได้เปลี่ยนชื่อวัดใหม่ว่า “วัดศรีดอนชัย” วัดศรีดอนชัย เป็นศูนย์กลางจัดการศึกษาของคณะสงฆ์อำเภอเชียงของ โดยได้เปิดสอนพระปริยัติธรรมแผนกธรรมมาตั้งแต่ พ.ศ. 2580 แผนกสามัญศึกษามาตั้งแต่ พ.ศ. 2525 และเป็นสถานที่สอบธรรมสนามหลวงประจำอำเภอเชียงของ ประจำทุกปี และได้รับยกย่องจากกรมการศาสนาให้เป็น “วัดพัฒนาตัวอย่าง” เมื่อ พ.ศ. 2519 มีปูชนียวัตถุที่สำคัญอันเป็นที่สักการบูชาของพุทธศาสนานิกชน คือ “ หลวงพ่อเพชร” ซึ่งเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองเชียงของ และพระธาตุศรีเวียงดอนชัย มีประเพณีสักการบูชาเป็นประจำทุกปีในวันมาฆบูชา


5.บ้านหาดไคร้ พิพิธภัณฑ์ปลาบึก และพันธุ์ปลาแม่น้ำโขง


บ้านหาดไคร้ เป็นหมู่บ้าน ซึ่งตั้งอยู่ในเขตเทศบาลตำบลเวียงเชียงของ ม.7 ที่มีชื่อเสียงทางด้านการจับปลาบึก ซึ่งเป็นปลาน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีการจับปลาบึกทุกปี ช่วงระหว่างเดือนเมษายน – พฤษภาคม ซึ่งเป็นช่วงที่ปลาบึกจะว่างขึ้นเหนือ เพื่อไปวางไข่ ก่อนการจับปลาบึก จะมีพิธีการสำคัญอีกอย่างหนึ่งต้องทำทุกปีก่อนการจับ นั่นคือพิธีบวงสรวงเจ้าพ่อปลาบึก ทำพิธีในวันที่ 18 เมษายนของทุกปี ในพิธีการก็จะมีการเซ่นไหว้อาหาร เครื่องดื่ม เพื่อสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หลังจากนั้นก็จะเริ่มลงมือจับปลา โดยเครื่องมือจับปลาบึกของที่นี่ เรียกว่า “มอง” ซึ่งเป็นอวนขนาดใหญ่พิเศษ เฉพาะจับปลาบึกเท่านั้น

 

6.ท่าเรือบั๊ก และข้อมูลการเดินทางไปยัง ลาว และจีน


ท่าเรือบั๊ก เป็นจุดผ่านแดนถาวรระหว่างไทย - ลาวอยู่ ริมฝั่งแม่น้ำโขง สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวได้ นักท่องเที่ยวชาวไทยสามารถข้ามไปฝั่งลาวได้ โดยติดต่อที่ว่าการอำเภอเชียงของ โดยเตรียมรูปถ่าย 1 นิ้ว 2 รูป และสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน 1 ชุด พร้อมเงินค่าธรรมเนียม 30 บาท 

สำหรับนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศต้องขอวีซ่าจากสถานทูต (ด่านเปิดทุกวัน เวลา 06.30 - 18.30 น.) จากจุดนี้สามารถเดินทางท่องเที่ยวโดยทางเรือไปถึงหลวงพระบาง - เวียงจันทน์ สปป.ลาว และกลับเข้าประเทศไทยที่จังหวัดหนองคายได้ 



7.จุดขายของที่ระลึกท่าเรือสินค้า




 เป็นบริเวณขนถ่ายสินค้า ท่าเทียบเรือใหญ่บริเวณนี้ จัดเป็นจุดตั้งร้านขายของที่ระลึกอยู่หลายร้าน โดยเฉพาะสินค้าประเภททำมือ อย่างสินค้าชาวเขา ชุดเสื้อผ้า กระโปรง รองเท้า กระเป๋า ที่เก๋น่ารักสไตล์ชาวเขา ลวดลายที่เห็นแล้วอยากได้จริงๆ มีหลายร้านนะครับลองหาของที่ระลึกแถวนี้ได้เลย สวยๆทั้งนั้น 



แหล่งข้อมูล: http://chiangkhong.sadoodta.com/category

ลักษณะภูมิศาสตร์

อำเภอเชียงของเป็นเมืองชายแดนเหนือสุดของประเทศไทย ติดกับประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) มีแม่น้ำโขงเป็นเส้นแบ่งเขตแดน ที่มีความยาวถึง 42 กิโลเมตร อยู่ห่างจากอำเภอเมืองเชียงราย 141 กิโลเมตร ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 950 กิโลเมตร อยู่ห่างจากอำเภอเชียงแสน 53 กิโลเมตร ตามทางหลวง 1129 (จากตัวเมืองเชียงรายประมาณ 114 กิโลเมตร) เป็นทางเลียบริมฝั่งแม่น้ำโขงที่มีทิวทัศน์สวยงาม
          ทั้งนี้ อำเภอเชียงของมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 836.90 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 523,062.50 ไร่ มีลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขา โดยมีพื้นที่ราบลุ่มอยู่ตอนกลาง ความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,000 ฟุต พื้นที่ป่าไม้ร้อยละ 61 ของพื้นที่ทั้งหมด หรือประมาณ 510 กิโลเมตร มีชื่อเสียงในเรื่องการจับ "ปลาบึก" และฤดูการจับปลาบึกอยู่ระหว่างกลางเดือนเมษายนถึงพฤษภาคมของทุกปี โดยก่อนที่จะมีการจับปลาบึกแต่ละปี จะต้องมีพิธีบวงสรวงปลาบึก จัดทุกวันที่ 18 เมษายน ของทุกปี เพื่อเป็นการบอกว่าถึงฤดูการจับปลาได้เริ่มขึ้นแล้ว
          แต่อย่างไรก็ตาม อำเภอเชียงของ ยังคงเป็นอำเภอที่เงียบสงบ ผู้คนใช้ชีวิตกันอย่างราบเรียบ ไม่วุ่นวาย ชุมชนที่มีวิถีชีวิตเรียบง่าย บรรยากาศของชนบทที่ยังบริสุทธิ์ บ้านเรือนชาวบ้านยังเป็นบ้านไม้แบบโบราณ ที่สำคัญเชียงของมีที่พักเลียบลำน้ำโขงอยู่หลายแห่งทั้งแบบบ้านและเกสต์เฮาส์ให้เลือกพัก และมีสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย เช่น น้ำตกห้วยเม็ง ศูนย์หัตถกรรมบ้านสถาน และศูนย์ผ้าทอไทลื้อตำบลศรีดอนชัย และมีร้านขายของที่ระลึกจำหน่าย
ที่ตั้งและอาณาเขต
          ทิศเหนือ ติดต่อกับแขวงบ่อแก้ว (ประเทศลาว)
          ทิศตะวันออก ติดต่อกับแขวงบ่อแก้ว (ประเทศลาว) และอำเภอเวียงแก่น
          ทิศใต้ ติดต่อกับอำเภอเวียงแก่น อำเภอขุนตาล อำเภอพญาเม็งราย และอำเภอเวียงเชียงรุ้ง
          ทิศตะวันตก ติดต่อกับอำเภอดอยหลวงและอำเภอเชียงแสน
คำขวัญประจำอำเภอ           หลวงพ่อเพชรคู่เมือง ลือเลื่องปลาบึกหาดไคร้ แหล่งผ้าทอน้ำไหล ประตูใหม่อินโดจีน
ลักษณะภูมิอากาศ
          อำเภอเชียงของมีพื้นที่ 837 ตารางกิโลเมตร สภาพภูมิอากาศเป็นแบบมรสุมเขตร้อน มี 3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว อากาศค่อนข้างเย็นสบายตลอดปี ทำให้สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของเมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว ประเทศลาว ได้ชัดเจนและสวยงาม นักท่องเที่ยวสามารถข้ามไปฝั่งลาวได้ระหว่างเวลา 8.30-16.30 น. โดยติดต่อกรอกแบบฟอร์มขอผ่านแดนได้ที่ศูนย์อำนวนการรักษาความมั่นคงภายใน บริเวณที่ว่าการอำเภอเชียงของได้ทุกวัน แค่เพียงเตรียมรูปถ่าย 1 นิ้ว 2 รูป และสำเนาบัตรประชาชน 1 ชุด พร้อมเงินค่าธรรมเนียม 10 บาท นอกจากนี้ ในช่วงฤดูร้อน ระหว่างเดือนเมษายนจะมีการจัดงานรื่นเริงและร้านค้าตามชายหาดริมฝั่งแม่น้ำโขงเป็นประจำทุกปี
การปกครอง 
          จำนวนประชากรรวม 26,588 คน ประกอบด้วยคนเชื้อชาติ ไทยพื้นเมือง ไทยลื้อ และชาวไทยภูเขาเผ่าต่าง ๆ อาทิเช่น ม้ง ลาหู่ (มูเซอ) ขมุ อาข่า เป็นต้น มี 117 หมู่บ้าน ตำบล 7 ตำบล มีเทศบาล 2 แห่ง องค์การบริหารส่วนตำบล 6 แห่ง ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลักคือ เกษตรกรรม (ผลผลิตทางการเกษตร ข้าว ลำไย ส้มเขียวหวาน ข้าวโพด ขิง) ค้าขาย อาชีพรองคือ ประมงน้ำจืด รับจ้าง การค้าขายชายแดน 
          แบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 ตำบล 117 หมู่บ้าน
          1. เวียง (Wiang) 14 หมู่บ้าน
          2. สถาน (Sathan) 16 หมู่บ้าน
          3. ครึ่ง (Khrueng) 11 หมู่บ้าน
          4. บุญเรือง (Bun Rueang) 10 หมู่บ้าน
          5. ห้วยซ้อ (Huai So) 23 หมู่บ้าน
          6. ศรีดอนชัย (Si Don Chai) 18 หมู่บ้าน
          7. ริมโขง (Rim Khong) 11 หมู่บ้าน

แผนที่อำเภอเชียงของ

 แผนที่อำเภอเชียง

คำขวัญประจำอำเภอ

คำขวัญ :หลวงพ่อเพชรคู่เมือง ลือเลื่องปลาบึกหาดไคร้ แหล่งผ้าทอน้ำไหล ประตูใหม่อินโดจีน





ประวัติความเป็นมาของอำเภอเชียงของ

ประวัติความเป็นมาของอำเภอเชียงของ

ประวัติความเป็นมาของเชียงของ
เมืองลุ่มแม่น้ำโขง…ที่เติบโตขึ้นในฐานะชุมชนเล็กๆ ชุมชนหนึ่ง บางช่วงอยู่ในสถานะเมืองอิสระ ปกครองตัวเอง แต่บางช่วงเวลาอยู่ภายใต้อิทธิพลของอาณาต่างๆ เช่น โยนก สมัยหิรัญนครเงินยาง นครนันทบุรี (น่าน) รวมทั้งภายใต้การปกครองของพม่า และกรุงศรีอยุธยา จนกระทั่งเป็นหัวเมืองบริเวณของสยาม

          ประเทศในยุคล่าอาณานิคม ของประเทศตะวันตก เชียงของถูกกำหนดให้เป็น “ดินแดนส่วนกลาง” ระหว่างสยามประเทศกับฝรั่งเศส ที่ต้องการยึดครองดินแดนลุ่มแม่น้ำโขง ณ เวลาหนึ่ง ต้องผจญกับการถูกรุกราน และถูกยึดเมืองโดยกลุ่มเงี้ยว ก่อนที่จะหวนกลับมาเป็นหัวเมืองหนึ่งของมณฑลพายัพ และก้าวเข้าสู่การเป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงราย

ในเวลาต่อมา ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นต้องการสร้างวงศ์ไพบูลย์มหาเอเชียบูรพา ได้ขอผ่านประเทศไทยไปยึดครองประเทศพม่า เชียงของเป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่ญี่ปุ่น ได้เข้ามาตั้งฐานกำลังสนับสนุนการทำ สงคราม ครั้นยุคสงครามเย็น เชียงของถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่สีชมพู ซึ่งหมายถึงจุดของการต่อสู้เพื่อแย่งชิงประชากร ระหว่างลัทธิสังคมนิยม กับโลกเสรี (ประชาธิปไตย) แต่เมื่อสถานการณ์ต่างๆ คลี่คลาย เชียงของได้รับการพัฒนามาตามลำดับ ในฐานะอำเภอหน้าด่านของจังหวัดเชียงราย มีการค้าขายกับประเทศเพื่อนบ้าน (ลาว) และจีนตอนใต้ ระยะเวลากว่า 10 กว่าปีที่ผ่านมา เชียงของถูกวางให้เป็นหนึ่งในแผนพัฒนาสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ เพื่อเชื่อมโยงการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และเป็นประตูสู่อินโดจีน

          มีบทบันทึกในหนังสือพื้นบ้านตั้งแต่สมัยพุทธกาลว่า ครั้งหนึ่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เคยเสด็จมาโปรดเวไนยสัตว์ และทรงเทศนาสั่งสอนชาวป่า ทางตะวันตกของแม่น้ำโขงคือ “อำเภอเชียงของ” ในปัจจุบัน ทั้งนี้ พระพุทธเจ้าทรงเทศนาโปรดเวไนยสัตว์ ณ เมืองเชียงของ ตำนานพื้นบ้านบันทึกไว้ว่า…

          ในช่วงเวลาที่องค์สมเด็จพระพุทธเจ้า ทรงเสด็จเทศนาโปรดเวไนยสัตว์เป็นเวลา 45 ปีนั้น ครั้งหนึ่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมด้วยพระอานนท์ ได้เสด็จถึงดอยแห่งหนึ่งใกล้เมืองเมิง อยู่ฝั่งซ้ายของแม่น้ำโขง ดอยแห่งนั้นมีซอกเขาสลับซับซ้อน วิจิตรงดงาม มีถ้ำที่พระองค์ได้ประทับรอยพระบาทเบื้องขวาไว้บนก้อนหินก้อนหนึ่ง ใกล้กับหินใหญ่ที่ชะโงกเงื้อมคล้ายกระท่อม อยู่ทางด้านขวาติดกับปากถ้ำ หันมาทางทิศตะวันออก (ปัจจุบันมีรอยพระบาทปรากฏอยู่บนก้อนหินนั้น) แล้วพระองค์ได้เสด็จข้ามแม่น้ำโขงไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ มายังบ้านแห่งหนึ่ง

คือบ้านของตำมิละ ตั้งอยู่ริมฝั่งน้ำโขง พระองค์ได้เสด็จลงสรงน้ำ บนก้อนหินก้อนหนึ่งมีรูปคล้ายช้าง ตั้งอยู่กลางลำน้ำโขง พระองค์ได้ประทับบริเวณใต้ต้นขนุนเป็นระยะเวลาหนึ่ง ได้ทรงเทศนาสั่งสอนชาวบ้านในหมู่บ้านแห่งนี้ให้ถือศีล 5 แทนการเลี้ยงผี ก่อนพระองค์จากไปด้วยความอาลัย ตำมิละหัวหน้าบ้านจึงเอ่ยขอสิ่งหนึ่งจากพระองค์ไว้เพื่อระลึกถึง ในเวลานั้นพระองค์ประทับหันพระพักตร์ไปทางตะวันตก พระองค์จึงเอาพระหัตถ์ขวาลูปพระเศียร ได้พระเกศามาสองเส้นเอายื่นให้แก่ตำมิ ละ โดยพระหัตถ์ของพระองค์เอง แล้วบอกแก่ตำมิละว่า…

          “ผมเราสองเส้นนี้ให้บรรจุไว้ทางซ้ายมืออยู่เดี๋ยวนี้ เมื่อก่อนจะบรรจุเส้นผมเราสองเส้นนี้ ให้ท่านวัดตั้งแต่ที่เราอยู่เดี๋ยวนี้ทั้งสองข้างซ้าย ขวา ให้มีระยะเท่ากัน”

          ภายหลังหัวหน้าบ้าน ได้นำเส้นพระเกศาบรรจุผอบทองคำหนัก 5 บาท ผอบละหนึ่งเส้น ใส่ไว้ในเรือทองคำหนัก 25 บาท ลำละ 1 ผอบ แล้ววัดระยะจากที่พระพุทธเจ้าเคยประทับออกไปในทางซ้าย-ขวา ในระยะที่เท่ากัน ขุดหลุมลึก 9 วา เอาเรือที่บรรจุผอบวางไว้ในหลุมทั้งสองข้าง ข้างละหนึ่งลำ เอาเรือลอยไว้ในหลุมดิน แล้วก่ออิฐทับขึ้นจนพ้นผิวดินไม่ใหญ่ไม่สูง เป็นเพียงเครื่องหมายให้รู้ไว้เท่านั้น ซึ่งก็คือบริเวณพระเจดีย์วัดหลวง ซึ่งอยู่ฝั่งซ้ายมือ และพระเจดีย์วัดแก้วซึ่งอยู่ฝั่งขวา เช่นที่ปรากฎในปัจจุบัน จากนั้นหัวหน้าบ้านตำมิละได้ว่าจ้างผู้รู้หนังสือ มาสลักหินไว้สองแผ่นมีความ กว้าง 1 ศอก ยาว 2 ศอก โดยสลักเป็นอักษรขอมโบราณเต็มแผ่นศิลา ในศิลาจากรึกได้กล่าวถึงพระพุทธเจ้า ได้ประทับรอยพระบาทที่แขวงเมืองเมิง ของอินโดจีน ฝรั่งเศส พร้อมทั้งบอกตำแหน่งที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับใต้ต้นขนุน

          บนศิลาจารึกนั้นยังได้ทำผู้ที่จะมาสร้างพระเจดีย์ทั้งสองแห่งคือ “พระยาไชยราช” อีกทั้งจารึกข้อความไว้เกี่ยวกับความรุ่งเรือง ของพระศาสนา และเมืองเชียงของ ในอนาคต แล้วหัวหน้าบ้านได้นำศิลาจารึกทั้ง 2 แผ่นฝังไว้เป็นใบเสมา ณ ที่ฝังผอบบรรจุพระเกศาทั้งสองแห่งซ้าย-ขวา

          *** หมายเหตุ : สำหรับแผ่นศิลาที่หนังสือพื้นเมืองได้กล่าวอ้างนี้ “เจ้าหนานบุษรศ” ผู้เรียบเรียงประวัติศาสตร์การสร้างเมืองเชียงของ ได้บันทึกไว้ว่า ศิลาจารึกทั้ง 2 แผ่น ได้ถูกนักท่องเที่ยวชาวอเมริกันนำออกไป เมื่อ ร.ศ.124 หรือ พ.ศ. 2449 โดยนักท่องเที่ยวผู้นั้นสามารถอ่านอักษรขอมโบราณได้ จึงได้นำปืนไรเฟิลชนิด 3 ลำกล้อง สำหรับยิงสัตว์มาแลกจากเจ้าราชวงศ์ “บุณรังษี” ซึ่งเป็นน้องเขยของเจ้าจิตตวงษ์ เจ้าเมืองเชียงของในเวลานั้น แล้วนำศิลาทั้งสองแผ่นลงเรือถ่อขนาดใหญ่ในลำน้ำโขงสมัยนั้น มุ่งหน้าไปทางเมืองเชียงแสน

อำเภอเชียงของ (คำเมืองLanna-Chiang Khong.png)[1] เป็นอำเภอหนึ่งของจังหวัดเชียงราย ลักษณะภูมิประเทศพื้นที่ราบ สลับกับเทือกเขา มีพื้นที่ด้านทิศตะวันออกบางส่วนติดกับแม่น้ำโขง ซึ่งฝั่งตรงข้ามคือ เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีประชากรอาศัยอยู่ในพื้นที่หลายเชื้อชาติ เช่น ไตลื้อ ขมุ ชาวมูเซอ แม้ว เย้า โดยกลุ่มไทลื้อโดยมากจะอาศัยอยู่ที่ บ้านห้วยเม็ง และบ้านศรีดอนชัย อพยพมาจากทาง สิบสองปันนา ทางตอนใต้ของประเทศจีนปัจจุบันยึดอาชีพเกษตรกรเป็นหลัก เคยทำสวนส้มกันจนมีชื่อเสียงโด่งดังแต่ปัจจุบันด้วยโรคภัยเยอะชาวบ้านเลยเลิกทำสวนส้มไปหลายราย หันไปทำไร่ข้าวโพดเหมือนกับชาวบ้านใกล้เคียงแทน เชื้อชาติขมุตั้งอยู่ที่บ้านห้วยกอกเป็นหมู่บ้านเล็กๆที่มีประชากรไม่มากนัก ประชากรในอำเภอเชียงของโดยส่วนมากทำอาชีพเกษตรกรรม เช่น ทำนา ไร่ข้าวโพด สวนส้ม สวนลิ้นจี่ สวนส้มโอ และพืชผักต่างๆเป็นต้น
มีสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย เช่น น้ำตกห้วยเม็งซึ่งอยู่ลึกเข้าไปในหุบเขาพื้นที่บ้านห้วยเม็งสามารถเดินทางไปได้โดยออกจากตัวอำเภอเชียงของมุ่งหน้าไปทางอำเภอเชียงแสนจากตัวอำเภอระยะทาง 3 กิโลเมตรจะถึงหมู่บ้านห้วยเม็ง เลี้ยวซ้ายเข้าไปผ่านหมู่บ้าน ระยะทางอีกประมาณ 6 กิโลเมตร สภาพเส้นทางเป็นลูกลัง โดยผ่านตามแนวเขาไปยังน้ำตก เหมาะแก่การเดินเท้าสัมผัสธรรมชาติ และปั่นจักรยาน สำหรับรถยนต์ต้องเป็นรถกระบะถึงสามารถเข้าไปยังน้ำตกห้วยเม็งได้ โดยตัวน้ำตกจะมี 2 ฝั่งคือฝั่งซ้ายและฝั่งขวาเป็นน้ำตกขนาดเล็ก ช่วงที่เหมาะแก่การท่องเที่ยวคือปลายฝนต้นหนาว
จากตัวอำเภอเชียงของมุ่งหน้าไปทาง อ.เชียงแสน ประมาณ 13 กิโลเมตร จะถึงที่ตั้งของสวนป่าห้วยทรายมาน มีจุดชมวิว 2 ฝั่งของระหว่างไทย - ลาวได้พื้นที่ติดน้ำโขงบริเวณตัวอำเภอเชียงของจะมีการสร้างถนนเรียบน้ำโขงเริ่มตั้งแต่บ้านหาดไคร้ไปถึงบ้านหัวเวียงนักท่องเที่ยวสามารถแวะชมบรรยากาศริมโขงได้ ท่าจับปลาบึกทุกวันที่ 17-19 เมษายน บริเวณท่าจับปลาบึก (ลานหน้าวัดหาดไคร้) จะมีการบวงสรวงและจับปลาบึกซึ่งหาดูได้ที่เดียวในโลก ปัจจุบันการล่าปลาบึกจะล่าได้ปีละครั้งในช่วงเดือนเมษายนของทุกปีเพื่อเป็นการอนุรักษ์ปลาบึก การล่าจึงทำเพื่อเป็นการสืบทอดการล่าปลาบึกให้คงอยู่ตามประเพณีของชาวบ้านหาดไคร้ และช่วงสงกรานต์บริเวณท่าปลาบึก(ลานหน้าวัดหาดไคร้)และท่าเรือบั๊กจะจัดงานมหาสงกรานต์อย่างยิ่งใหญ่ทุก ๆ ปี สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์มีมากมาย เช่น กล้วยอบเนยศรีลานนา ผ้าทอศรีดอนชัยที่มีการสืบทอดมาแต่โบราณจากบรรพบุรุษของชนชาวไตลื้อสามารถแวะชมได้ที่และศูนย์ผ้าทอไทลื้อตำบลศรีดอนชัย และสินค้าหัตถกรรมบ้านสถาน ศูนย์หัตถกรรมบ้านสถาน
ในทุกปีช่วงเดือนเมษายน บริเวณแม่น้ำโขงที่อำเภอเชียงของชาวบ้านจะลงไปเก็บไก (สาหร่ายน้ำจืดที่เกิดในแม่น้ำโขง เป็นชื่อเรียกของคนในพื้นที่) โดยจะนำมาตากแห้งบนคา (ชนิดเดียวกับที่ใช้มุงหลังคา) โดยอาจจะมีใส่เครื่องปรุงเช่น งา ข่า ตะไคร้ ต่าง ๆ ลงไป สามารถนำมาทอดกิน รสชาติหวาน กรอบ ปัจจุบันนำมาจัดเป็นสินค้าโอทอป
ปัจจุบัน อำเภอเชียงของเป็นอำเภอที่นักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเริ่มให้ความสนใจเข้ามาท่องเที่ยวมากขึ้น สิ่งก่อสร้างที่พักอาศัยเริ่มมีเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะบริเวณบ้านหัวเวียง จะมีที่พักเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวจำนวนมาก โดยนักท่องเที่ยวที่มายังอำเภอเชียงของสามารถข้ามไปยัง เมืองห้วยทรายได้ที่ท่าเรือบ้านหัวเวียง สามารถทำหนังสือเดินทางชั่วคราวเพื่อข้ามไปท่องเที่ยวได้และสามารถใช้พาสปอร์ตข้ามได้เช่นกัน นักท่องเที่ยวสามารถนั่งเรือจากท่าเรือบ้านหัวเวียงล่องน้ำโขงไปยังเมืองหลวงพระบางได้ ทุกๆเย็นวันเสาร์จะมีการจัดงานถนนคนเดินที่ชาวบ้านในพื้นที่จะนำพืชผล ผลิตภัณฑ์ที่ทำขึ้นมา มาจำหน่ายกันยังบริเวณถนนสายหลักตั้งแต่บ้านวัดแก้วไปจนถึงบ้านหัวเวียง นักท่องเที่ยวสามารหาซื้อของฝากที่ผลิตในท้องถิ่นได้ในวันดังกล่าว
การเดินทางมายังอำเภอเชียงของ สามารถใช้เส้นทางจากทาง อ.เทิง-อ.ขุนตาล-อ.เชียงของ ,อ.เมือง-อ.พญาเม็งราย-อ.เชียงของ ,อ.เมือง-อ.เวียงเชียงรุ้ง-อ.เชียงของ , อ.เมือง-อ.แม่จัน-อ.เชียงแสน-อ.เชียงของ โดยจะมีรถเมล์วิ่งผ่านทุกเส้นทางยกเว้นเส้นทางจาก อ.เมือง-อ.แม่จัน-อ.เชียงแสน-อ.เชียงของ จะมีเพียงรถสองแถววิ่งผ่านเท่านั้น โดยรถเมล์จะออกจากสถานีขนส่งเชียงราย สลับกันแต่ละเส้นทาง
ที่มา : ประวัติการสร้างเมืองเชียงของ ขุนภูนพิเลขกิจ (เจ้าหนานบุษรศ จิตตางกูร) พ.ศ. 2548
http://chiangrai.kapook.com/chiangkhong-2/
http://www.chiangkhong.com

https://th.wikipedia.org/wiki/