ศิลปวัฒนธรรม/ประเพณี
เชียงของ
เป็นเมืองหน้าด่านที่สำคัญมาตั้งแต่อดีต
ด้วยพื้นที่เชื่อมต่อกับเพื่อนบ้านทั้งพม่า ลาว จีน เมื่อเปิดสะพานมิตรภาพแห่งที่ 4
ต้องพบกับความเปลี่ยนแปลง คนพื้นที่จึงกำหนดแผนปรับเปลี่ยนเป็นเมือง
2 แบบ แบ่งเขตพัฒนาและรักษาพื้นที่วัฒนธรรมนิทานท้องถิ่นเล่าเรื่องปู่ละหึ่งแบกถ่านจนคานหักตกลงในแม่น้ำโขง
บอกเล่าที่มาของชื่อเรียกท่าผาถ่าน ด้วยความโดดเด่นของผาหินสีดำคล้ายถ่าน
สัญลักษณ์ท่าเรือประวัติศาสตร์ของเมืองชายแดนเชียงของ การขยายตัวทางเศรษฐกิจ
ทำให้เส้นทางผ่านสินค้าและผู้คนส่วนใหญ่ ย้ายไปยังท่าเรือบั๊คในเขตหัวเวียง
ที่นี่จึงซบเซามากว่า 20 ปี
ท่าผาถ่าน เป็น 1 ในสถานที่สำคัญสะท้อนประวัติศาสตร์วัฒนธรรมเมือง
ที่จะรวมอยู่ในแผนอนุรักษ์ที่ชุมชนออกแบบเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลง
หากเปิดใช้สะพานข้ามโขงแห่งที่ 4 ที่มีกำหนดแล้วเสร็จกลางปีนี้
สะพานข้ามโขงแห่งที่ 4 เชื่อมจากเมืองเชียงของ-ห้วยทรายในฝั่งลาว
ซึ่งจะสร้างเสร็จในเดือนมิถุนายน 2556 และหลังจากเปิดใช้สะพาน
เชียงของจะเป็นทางผ่านสินค้า รวมถึงการท่องเที่ยวที่มากขึ้น
ทำให้ชาวเชียงของร่างแผนพัฒนาเมือง 2 แบบ
พัฒนาทั้งเขตเศรษฐกิจและรักษาวัฒนธรรม
ขณะนี้ งานก่อสร้างสะพานสร้างเสร็จร้อยละ
70 ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจแนวเหนือใต้
และโครงข่ายคมนาคมไทยลาวและจีน หากนโยบายเปิดประตูการค้า
ส่งเสริมการท่องเที่ยวราว 10 ปีมานี้ มีผลให้เมืองเล็กๆ
ที่เคยเงียบสงบอย่างเชียงของ เผชิญความเปลี่ยนแปลงหลายด้าน ทำให้เครือข่ายนักอนุรักษ์และชาวชุมชน
ร่างแผนกำหนดเมือง 2 แบบ
แบ่งเขตเมืองใหม่เป็นพื้นที่พัฒนาเศรษฐกิจ-การค้า ระบบขนส่ง
แยกกับพื้นที่เมืองเก่า ที่ส่งเสริมให้เป็นแหล่งเรียนรู้-อนุรักษ์
หวังใช้ตั้งรับกับปัญหาการท่องเที่ยว
และการรุกคืบจากสินค้าของชาติมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอย่างจีน ที่อาจทำลายวิถีเมืองเชียงของและอัตลักษณ์วัฒนธรรมเดิม
เมืองชายแดนหลายแห่ง
เจริญขึ้นหลังการเปิดด่านเป็นทางผ่านสินค้า
หากวิถีเมืองกลับเปลี่ยนตามการเข้ามาของทุนท่องเที่ยว
และการพัฒนาย่านเศรษฐกิจที่แตกต่างกับวัฒนธรรมเดิม เช่น แม่สาย เชียงแสน หากความตื่นตัวของชาวเชียงของในการพัฒนาอนุรักษ์เมืองอย่างมีส่วนร่วม
ตลอดจนขับเคลื่อนเสนอราชการให้แผนพัฒนา 1 เมือง 2 แบบได้รับการประกาศใช้ ล้วนมาจากความ
ตั้งใจจริงของคนพื้นที่
ในการรักษาชีวิตวัฒนธรรมเมืองชายแดนริมโขง
พิธีบวงสรวงเจ้าพ่อปลาบึก
ช่วงเวลา
พิธีบวงสรวงจะกระทำก่อนการลงมือจับปลาบึกที่อำเภอเชียงของ
จะเริ่มจับปลาบึกตั้งแต่ปลายเดือนเมษายนจนถึงปลายเดือนพฤษภาคม
ของทุกปีซึ่งเป็นช่วงที่ปลาบึกกำลังผสมพันธุ์
และว่ายทวนน้ำขึ้นไปวางไข่ที่ทางต้นน้ำในประเทศจีน
ความสำคัญ
พิธีบวงสรวงเจ้าพ่อปลาบึกเป็นประเพณีที่ถือปฏิบัติกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษ
โดยเชื่อว่าปลาบึกเป็นปลาที่มีเทพคอยคุ้มครองอยู่
ถ้าไม่มีการบวงสรวงไหว้วอนขอจากเจ้าพ่อของเขา
และไม่ปลุกขวัญแม่ย่านางเรือให้มีอานุภาพแกร่งกล้าผู้นั้นก็ยากที่จะจับปลาบึกได้สำเร็จ
ดังนั้นบรรดาชาวประมงหรือพรานล่าปลาบึกบ้านหาดไคร้ ตำบลเวียง อำเภอเชียงของ
จังหวัดเชียงราย จึงได้มีพิธีบวงสรวงกันทุกปี
จนกลายเป็นประเพณีพื้นบ้านของท้องถิ่น
พิธีกรรม
พิธีบวงสรวงจะกระทำบริเวณชายหาดริมแม่น้ำโขง
โดยมีศาลเพียงตาและมีรั้วรอบทั้งสี่ด้าน ที่มุมรั้วทั้ง๔ จะผูกต้นกล้วย ต้นอ้อยไว้
ส่วนบนศาลเพียงตาจะมีเครื่องเซ่นบวงสรวงประกอบด้วย ดอกไม้ ธูปเทียน
สุราอาหารและผลไม้
สมัยก่อนเครื่องเซ่นสังเวยบวงสรวงเจ้าพ่อปลาบึกและแม่ย่านางเรือมีเพียง ดอกไม้
ธูปเทียนและไก่เป็นๆ โดยจับขาไก่สองข้างให้แน่นและฟาดลำตัวลงบนหัวเรือให้ตายทั้งเป็น
เพื่อให้เลือดกระเซ็นรอบๆเรือและเครื่องมือที่ใช้ดักจับปลาบึก
จากนั้นก็ขออาหารที่เหลือมาแบ่งกันกิน เป็นอันเสร็จพิธี
สาระ
การทำพิธีบวงสรวงก่อนการจับปลาบึกเป็นการสร้างกำลังใจ
ความเป็นสิริมงคล และโชคลาภแก่ชาวประมง
ตลอดจนเป็นการรักษาไว้ซึ่งประเพณีที่เคยปฏิบัติสืบกันมาทุกปี
แข่งเรือพายสงกรานต์เชียงของ
ในงานสงกรานต์เชียงของเขามีการแข่งเรือพายในแม่น้ำโขง ต้องบอกก่อนว่าเชียงของอยู่ชายแดนลาวที่เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว ประเทศลาว มีเพียงแม่น้ำโขงกั้นไว้ ในวันสงกรานต์แต่ละตำบลจะส่งเรือพายของตนเองเข้ามาพายแข่งกัน เป็นประเพณีของชาวเชียงของ ผมเดินผ่านไปชายแม่น้ำโขงเห็นกระดานเขียนรายชื่อผู้ร่วมบริจาคไว้ จึงเข้าใจว่าทุกฝ่ายในตำบลจะช่วยๆกันเรื่องค่าใช้จ่าย โดยมีพ่อหลวงบ้านเป็นแกนนำ เห็นจากตอนรับรางวัลจะให้พ่อหลวงไปรับรางวัล
ซึ่งนักท่องเที่ยวที่ชอบการเดินป่าหรือการปั่นจักรยานเสือภูเขา สามารถท่องเที่ยวได้ 2 วัน 1 คืน วันแรกเดินทางเข้าไปหมู่บ้านม้ง เดินเที่ยวชมหมู่บ้านม้ง บ่ายๆ เดินทางสู่น้ำตกและค้างแรมที่นั่น เช้าวันที่สองเดินทางออกจากน้ำตกมาหมู่บ้านม้ง และเดินทางตามแนวเขาไปยังบ้าน ห้วยเม็ง ผ่านน้ำตกห้วยเม็ง และทิวทัศน์บนสันเขาที่สามารถมองเห็นเชียงของ, ห้วยทราย(ลาว) และแม่น้ำโขง บ่ายกว่าๆ ถึงบ้านห้วยเม็ง และแวะชิมส้มเขียวหวานอันลือชื่อ ชมวิถีชีวิตของชาวไทยลื่อที่บ้านห้วยเม็ง ระยะทางรวมทั้งหมดประมาณ 25 กิโลเมตร (เส้นทางธรรมชาติ)เส้นทางการเดินทางไปหมู่บ้านทุ่งนาน้อย เป็นถนนลูกรัง เหมาะสำหรับรถทุกชนิด ช่วงเวลาที่เหมาะสำหรับการเที่ยว ประมาณเดือนตุลาคม – มีนาคม แหล่งข้อมูลhttp://www.prapayneethai.com |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น